โรงเรียนบ้านโพหวาย

หมู่ที่  5  บ้านโพหวาย ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
 จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
โทร. 086-9578241

316835523_495685882591746_1281989740248448838_n

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต ๒

1084640397-20170529-215101

นาย เอกฉัตร ชุมศรี
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโพหวาย

ประวัติโรงเรียน

 โรงเรียนบ้านโพหวาย ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 ตำบลบางกุ้ง     ในเขตเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี  เดิมชื่อโรงเรียนประชาบาล ตำบลตลาด1 เริ่มก่อตั้งวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2483 ในที่ดินของนายวงศ์  สวัสดิฤกษ์  โดยมีนายวินัย  วิเศษรัตน์  เป็นครูใหญ่คนแรก   และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียนบ้านโพหวาย   ในปี พ.ศ.  2491

​          ในปี พ.ศ. 2498 นายเซ่งกี่  แซ่เฮียบ ได้บริจาคที่ดินให้ประมาณ 6 ไร่ สำหรับสร้างและขยายอาคารเรียนและได้รับการสนับสนุนร่วมมือ ในการพัฒนาปรับปรุงโรงเรียนจากประชาชนและองค์กรในชุมชนตลอดมา ในปี พ.ศ. 2524 นายรำไพ ถิระวัฒน์ ได้บริจาคเงิน  750,000 บาท   เพื่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง   และในวันที่ 28 มิถุนายน 2547    ตระกูลถิระวัฒน์  ได้บริจาคเงินเพื่อซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารเรียนหลังเดิมโดยการเปลี่ยนเสาอาคารและทาสีอาคารให้ใหม่  เป็นเงิน  330,000  บาท

​          ผู้บริหารสถานศึกษาได้ร่วมกับชุมชนและองค์กรต่าง ๆ  ปรับปรุง  พัฒนา และปฏิรูปการศึกษาทำให้โรงเรียนได้รับการพัฒนาให้มีความก้าวหน้ามาเป็นลำดับ และเป็นที่ยอมรับของชุมชนตลอดมา เป็นโรงเรียนนำร่องขยายโอกาสทางการศึกษา เป็นโรงเรียนรางวัลพระราชทานถึง 2 ปี   คือในปี พ.ศ. 2531และปี 2538

​          มีผู้บริหารมาแล้ว  13  คน  ปัจจุบันมี นายวีระพงค์  ไชยามาตย์  เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา      มาดำรงตำแหน่งตั้งแต่   วันที่  14  พฤศจิกายน  2559  โรงเรียนจัดการศึกษา 3 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา  ระดับประถมศึกษา  และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

 

วิสัยทัศน์โรงเรียน

“ โรงเรียนบ้านโพหวาย เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี บนพื้นฐานของความเป็นไทยและมีศักยภาพเป็นพลโลก  ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ”

พันธกิจ

1. จัดระบบการบริหารจัดการศึกษา ให้โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
2. จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้ตามหลักสูตรของสถานศึกษา
3. จัดการศึกษาที่ปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นคนดีบนพื้นฐานของความเป็นไทย
4. จัดการศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก
5. พัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างประสิทธิภาพ
6. จัดการศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน